ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Siamese pom-pom tree
Siamese pom-pom tree
Mallotus barbatus Müll. Arg.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Euphorbiaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Mallotus barbatus Müll. Arg.
 
  ชื่อไทย ตองเต๊า
 
  ชื่อท้องถิ่น ลำดู๊ก(ลั้วะ), รังรอง(ขมุ), ตองเต๊า(คนเมือง), ตองเต๊า(ไทลื้อ)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม หรือ ไม้ต้น ขนาดเล็ก, สูงไม่เกิน 6 ม, ทุกส่วนมีขนคล้ายขนสัตว์, สีขาวอมน้ำตาลอ่อน ๆ ปกคลุมหนาแน่น; ใบอ่อนสีชมพู.
ใบ เดี่ยว, เรียงแบบบันไดเวียน, รูปไข่ป้อม ๆ หรือ ค่อนข้างกลม, มักจะมีแฉกตื้น ๆ 3 แฉก, กว้าง 7.5 – 30 ซม., ยาว 8.5 – 35 ซม.; ปลายใบและปลายแฉกเรียวแหลมเป็นหางยาว; ขอบใบหยักตื้นและห่าง; โคนใบกลม; เส้นแขนงใบ 7 – 10 คู่, นูนเด่นทางด้านล่างของใบ, ด้านบนมีขนเป็นรูปดาว และจะค่อย ๆ หลุดร่วงไป เมื่อใบแก่, สีเขียวอ่อน หรือเขียวอมเหลือง; ก้านใบติดแบบใบบัว, ยาว 5 – 25 ซม., อ้วน.
ดอก ออกเป็นช่อตามปลายกิ่งและง่ามใบใกล้ยอด, สีแดงอมเหลือง; ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน. ดอกเพศผู้ ช่อดอกยาว 11 – 36 ซม.; ก้านดอกยาว 3 – 4 มม.; กลีบดอก 4 – 6 กลีบ, งอ, รูปขอบขนาน, ปลายแหลม, ยาว 3.5 มม.; เกสรผู้ 75 – 85 อัน. ดอกเพศเมีย ช่อดอกยาวประมาณ 9 ซม., ก้านดอกยาว 2 มม., กลีบดอก 4 – 5 หยัก, ยาว 3 มม.; รังไข่สีแดงสดใส, ภายในมี 4 – 6 ช่อง, ท่อรังไข่สีเหลืองมี 4 อัน, ปลายท่อแบน, ปลายแหลม, ยาว 3.5 – 4.5 มม.
ผล กลม, เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 มม., มีขนรูปดาว, สีน้ำตาลอ่อน, ปกคลุมหนาแน่นคล้ายขนสัตว์, มี 4 – 6 ช่อง, แก่จะแตก. เมล็ด มีเมล็ดสีดำช่องละหนึ่งเมล็ด, ยาว 5.5 – 6 มม. [6]
 
  ใบ ใบ เดี่ยว, เรียงแบบบันไดเวียน, รูปไข่ป้อม ๆ หรือ ค่อนข้างกลม, มักจะมีแฉกตื้น ๆ 3 แฉก, กว้าง 7.5 – 30 ซม., ยาว 8.5 – 35 ซม.; ปลายใบและปลายแฉกเรียวแหลมเป็นหางยาว; ขอบใบหยักตื้นและห่าง; โคนใบกลม; เส้นแขนงใบ 7 – 10 คู่, นูนเด่นทางด้านล่างของใบ, ด้านบนมีขนเป็นรูปดาว และจะค่อย ๆ หลุดร่วงไป เมื่อใบแก่, สีเขียวอ่อน หรือเขียวอมเหลือง; ก้านใบติดแบบใบบัว, ยาว 5 – 25 ซม., อ้วน.
 
  ดอก ดอก ออกเป็นช่อตามปลายกิ่งและง่ามใบใกล้ยอด, สีแดงอมเหลือง; ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน. ดอกเพศผู้ ช่อดอกยาว 11 – 36 ซม.; ก้านดอกยาว 3 – 4 มม.; กลีบดอก 4 – 6 กลีบ, งอ, รูปขอบขนาน, ปลายแหลม, ยาว 3.5 มม.; เกสรผู้ 75 – 85 อัน. ดอกเพศเมีย ช่อดอกยาวประมาณ 9 ซม., ก้านดอกยาว 2 มม., กลีบดอก 4 – 5 หยัก, ยาว 3 มม.; รังไข่สีแดงสดใส, ภายในมี 4 – 6 ช่อง, ท่อรังไข่สีเหลืองมี 4 อัน, ปลายท่อแบน, ปลายแหลม, ยาว 3.5 – 4.5 มม.
 
  ผล ผล กลม, เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 มม., มีขนรูปดาว, สีน้ำตาลอ่อน, ปกคลุมหนาแน่นคล้ายขนสัตว์, มี 4 – 6 ช่อง, แก่จะแตก. เมล็ด มีเมล็ดสีดำช่องละหนึ่งเมล็ด, ยาว 5.5 – 6 มม. [6]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - เปลือกต้น ลอกออกแล้วใช้ทำเชือกมัดฟืน(ลั้วะ)
- ลำต้น ใช้ทำรั้ว(คนเมือง)
- ใบ ใช้รองก้นหลุมที่จะตั้งเสาบ้าน เชื่อว่าจะทำให้ค้าขายดี เป็นศิริมงคล(คนเมือง)
ใบ เย็บติดกับใบขนุนแล้วใช้สำหรับรองให้นาคที่จะเข้าพิธีบวชเหยียบขณะอาบน้ำ เชื่อว่าจะได้ช่วยค้ำชู(ไทลื้อ)
กิ่งที่เป็นง่าม ใช้เป็นไม้ค้ำต้นสลี(ต้นโพธิ์)ในพิธีสืบชะตา(คนเมือง)
- เนื้อไม้ ใช้ทำฟืน(ลั้วะ)
ยอดอ่อน บดแช่น้ำให้ลูกควายที่เพิ่งเกิดใหม่ดื่มแก้อาการท้องเสีย(ลั้วะ)
ใบอ่อน ใช้ยัดในไหเมี่ยงช่วยให้เมี่ยงมีรสเปรี้ยว(ขมุ)
ใบ ใช้ห่ออาหารแล้วนำไปหมกไฟช่วยให้มีกลิ่นหอม หรือ ใช้ยัดปากไหหมักเมี่ยงร่วมกับใบส้มป่องช่วยให้เมี่ยงมีรส ฝาด(คนเมือง)
- ใบ ตำรวมกับพริกไทยดำ, ขิง และข้าวหัก, พอกที่ท้องแก้ท้องขึ้น [6]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[6] ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2530. สมุนไพรไทยตอนที่ 5 . ฝ่ายพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กองบำรุง กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง